เผยโรคที่ “กันยา เมีย2018” ป่วย

กำลังเป็นละครที่กำลังร้อนเเรงมากหลังจากที่ได้ออนแอร์ไม่นานก็ได้การตอบรับกระเเสดีมากจริงๆ สำหรับ เมีย 2018 ซึ่งตอนนี้กระแสกำลังฮิตทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่ง “ป้อง ณวัฒน์-บี น้ำทิพย์-มารี เบิร์นเนอร์” มาประชันความดุเดือด ทำให้มีคนเกลียดน้องเมียอย่างมารี หรือกันยาเป็นอย่างมาก หลังจากที่มีชาวเน็ตได้ไปตั้งกระทู้ในพันทิปถามถึงโรคที่กันยาป่วยบอกเลยร้ายเเรงมาจริงๆตามไปดูรายละเอียดกันเลย…

1 ในหัวข้อที่เป็นที่พูดถึงก็คือ อาการผิดปกติของตัวละครเมียน้อย อย่าง “กันยา”ซึ่งรับบทโดยสาวแซ่บ “มารี เบิร์นเนอร์” ที่ในละครมีการกล่าวถึงว่า เธอมีอาการทางจิตเป็นโรคจิตเภทประเภทหนึ่ง จนส่งผลให้ รักแรง – เรียกร้องความสนใจ ,ชอบยื้อแย่ง และ แสดงความเป็นเจ้าของ รวมถึงระงับอารมณ์ตัวเองไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้บอกชัดเจนว่าอาการแบบนี้เกิดจากโรคจิตเภทที่ชื่อว่าอะไร!?
ซึ่งชาวเน็ตที่มีความรู้ด้านนี้ได้ออกมาวิเคราะห์ว่า น่าจะเป็นอาการของโรคที่ชื่อว่า “Borderline ” หรือ “ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง”
มีความหวาดระแวงต่อการถูกทอดทิ้ง (Abandonment Sensitivity) ผู้ป่วย BPD จะกลัวการถูกทอดทิ้งจากคนรักและเพื่อน มักจะเข้าใจผู้อื่นผิดและคิดว่าเพื่อนๆกำลังจากไป มักจะทำให้ตนเองดูน่าสงสารเพื่อไม่ให้ถูกทอดทิ้งมีความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคง (Unstable Relationships)

•มักมีสัมพันธภาพที่ตึงเครียด ขัดแย้ง (บ่อยครั้ง) และ แตกหัก ทั้งกับเพื่อน หรือแฟน
•อารมณ์แปรปรวนขึ้นๆลงๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เปลี่ยนใจง่าย มีการแสดงไม่ตรงความรู้สึก เช่นต้องการใกล้ชิดแต่พยายามทำตัวห่างไกลจากเขาหรือเธอ
•มักรู้สึกผิดหวัง หรือเกลียดชังง่ายกับคนรัก
มีมุมมองชีวิตที่บิดเบือนไป (Identity Disturbance)
•เปลี่ยนแปลงมุมมองต่อชีวิตบ่อยๆ เช่นช่วงเวลาหนึ่งอาจคิดว่าตนเองเป็นคนดีในอุดมคติ แต่บางวันก็จะกลายเป็นคนที่แย่ที่สุด
•ความรู้สึกไม่แน่ใจเกี่ยวกับตัวเอง (เหมือนไม่ทราบว่าตัวเองเป็นใครกันแน่และมีความเชื่อแบบไหน)
•รู้สึกเหมือนไม่มีตัวตนในโลก

อารมณ์รุนแรง (Impulsivity)
•มีพฤติกรรมที่เกินเลยและรุนแรง เช่นการสนุกสนานกับการใช้จ่าย สำส่อนทางเพศ ขับรถโดยประมาท ติดยาเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำสิ่งผิดกฎหมาย
พฤติกรรมการฆ่าตัวตายหรือเป็นทำร้ายตัวเอง (Suicidal Behaviors or Self-Harm)
•การพยายามฆ่าตัวตาย หรือมีพฤติกรรมส่อไปทางฆ่าตัวตาย
•การขู่ว่าจะฆ่าตัวตายเพื่อสื่อถึงความเจ็บปวดทางอารมณ์ หรือเพื่อดูว่ามีคนสนใจไหม
•ทำร้ายตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจจะฆ่าตัวตาย (ตัวอย่างเช่นการใช้มีดกรีดหรือจุดไฟเผาตัวเอง)

อารมณ์แปรปรวน ไม่มั่นคง (Emotional Stability)
•มีความรู้สึกเชิงลบรุนแรง จากประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำวัน
•ความรู้สึกโศกเศร้ารุนแรง หงุดหงิดหรือโกรธอยู่นานหลายชั่วโมง
•มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์บ่อย (เช่นจากความรู้สึกดีๆเปลี่ยนเป็นหมดหวังโดยสิ้นเชิงภายในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง)
ความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว (Chronic Feeling of Emptiness)
•มักจะรู้สึกว่างเปล่า
•ภาวะไร้อารมณ์หรือรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรอยู่เลย
การแสดงออกทางอารมณ์ที่เกิดกว่าเหตุ (Inappropriate Anger)
•โกรธรุนแรงเกินสถานการณ์จริง
•ควบคุมความโกรธไม่ได้ (เช่นมักจะตะโกนใส่คนอื่น ๆ ชอบเหน็บแนม ทำลายข้าวของ ใช้กำลังเข้าต่อสู้)
หวาดระแวงมากเกินเนื่องจากความเครียด (Stress-induced Paranoia or Dissociation
ความเครียดทำให้เกิดการหวาดระแวง
•รู้สึกว่าคนอื่นจะมาจับหรือพยายามทำให้เป็นอันตราย
•มีความรู้สึกว่าคนอื่นเสแสร้ง “ไม่จริงใจ” หรือเคยเจอสภาวะ “ส่วนเกิน” หรือ “เย็นชา”
•เหมือนคนตายแล้ว
อาการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการที่พบในคนจำนวนมากในระยะเวลาหลายชั่วคน คนที่มีภาวะ BPD จะมีอาการเหล่านี้ ทุกวันหรือเกือบทุกวัน นานหลายปี ในบริบทที่แตกต่างกัน เช่นอาจจะปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับหลายคน ไม่ใช่หนึ่งหรือสองคน การวินิจฉัยภาวะ BPD ต้องมีอาการ อย่างน้อย 5 ใน 9 อาการที่ระบุไว้ข้างต้น และอาการเหล่านี้ต้องมีการเริ่มต้นในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น กรณีมีภาวะ BPD ควรปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญจิตเวช ที่สามารถฟังข้อกังวลของคุณ และให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง