‘ธนาคารออมสิน’ เปิดรับสมัครลูกจ้างจำนวนมาก วุฒิ ป.6ขึ้นไป เงินเดือนขั้นต่ำ12,000บาท บัดนี้-28ธ.ค.61 (รายละเอียด)


‘ธนาคารออมสิน’ เปิดรับสมัครลูกจ้างจำนวนมาก วุฒิ ป.6ขึ้นไป เงินเดือนขั้นต่ำ12,000บาท บัดนี้-28ธ.ค.61

ธนาคารออมสิน รับสมัครงานตำแหน่งลูกจ้างเหมาจ่าย เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึง 28 ธ.ค. 61 รายละเอียดงาน : ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น จัดเตรียม ดูแลรักษาทำความสะอาดสำนักงาน และเครื่องใช้ต่างๆ ให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ซ่อมแซมและบำรุงรักษา วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ จัดสถานที่สำหรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของธนาคาร และรับ-ส่ง เอกสาร เป็นต้น


คุณสมบัติทั่วไปที่ธนาคารกำหนด
1. จบการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ขึ้นไป
2. มีความอดทน ละเอียดรอบคอบ มีใจรักงานบริการ และมีมนุษยสัมพันธ์ดี

3. ต้องไม่เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2556
4. เพศชายต้องพ้นภาระทางทหารแล้ว หรือผ่านการเกณฑ์ทหาร (แบบ สด.43) หรือได้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป (แบบ สด.8)
5. อัตราค่าจ้าง 12,000 บาท

เงื่อนไขเพิ่มเติม : สามารถเริ่มปฏิบัติงานได้ทันที
สถานที่ปฏิบัติงาน : ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับสมัครได้ที่ ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ส่วนสรรหาทรัพยากรบุคคล หมายเลขโทรศัพท์ 02 299 8000 ต่อ 030211-2 , 030221

ธนาคารออมสิน มีสถานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย เน้นการให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีรูปแบบของสินเชื่อและชนิดการฝากเงินรายย่อยมากมาย อีกทั้งยังสร้างเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มชุมชน โครงการธนาคารเพื่อประชาชน โดยให้สินเชื่อระยะสั้น แก่ผู้ประกอบการรายย่อย

(ให้ประชาชนมาเป็นหนี้ในระบบ ที่สามารถตรวจสอบได้ และการเก็บดอกเบี้ยตามความเป็นจริง) เป็นช่องทางการรับและจ่ายเงินกู้ จากโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อีกทั้งยังลงทุนในการพัฒนาประเทศ ของหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ให้บริการรูปแบบเงินฝากที่หลากหลาย เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย รวมทั้งมีการให้บริการตามหลักศาสนาอิสลาม

ปัจจุบันมีจำนวนสาขาทั้งหมด 1,039 แห่งทั่วประเทศ ธนาคารออมสิน กำเนิดขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงริเริ่มนำกิจการด้านการออมสินมาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2450 โดยได้ทดลองตั้งธนาคารรับฝากเงินขึ้นเรียกว่า “แบงก์ลีฟอเทีย” ณ พระตำหนักสวนจิตรลดา (ในบริเวณวังปารุสกวัน) สำหรับให้มหาดเล็กและ

ข้าราชบริพารของพระองค์ได้เรียนรู้วิธีการดำเนินงานของธนาคาร และส่งเสริมนิสัยรักการออมในปี พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินขึ้น และประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยให้เรียกว่า “คลังออมสิน” ขึ้นตรงต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะขยายกิจการคลังออมสินให้กว้างขวางขึ้น จึงโอนกิจการคลังออมสิน จากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข (ปัจจุบันเป็น สำนักงาน กสทช. แต่ก่อนจะแปรสภาพ ส่วนหนึ่งแยกไปจัดตั้งเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

และ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด) กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (ปัจจุบันคือกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม) มีสถานะเป็นแผนกคลังออมสินในกองบัญชี เมื่อปี พ.ศ. 2472 เป็นผลให้ราษฎรสามารถฝากและถอนเงิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ได้ เช่นเดียวกับบริการออมสิน ของกรมไปรษณีย์ประเทศญี่ปุ่น และกรมไปรษณีย์ประเทศเยอรมนี

กระทั่งปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลในสมัยที่ ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี ยกระดับให้คลังออมสิน เปลี่ยนสถานะเป็น “ธนาคารออมสิน” มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2490เพื่อทำหน้าที่การธนาคาร และเป็นสถาบันการออมทรัพย์ที่สมบูรณ์แบบ เช่นเดียวกับธนาคารนานาประเทศ

สลากออมสิน เป็นรูปแบบหนึ่งของการออมทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษ ผลตอบแทนที่ผู้ฝากได้รับนอกจากดอกเบี้ยแล้วยังสามารถทวีเงินออมโดยผู้ฝากมีสิทธิถูกรางวัลตามที่ธนาคารกำหนด โดยทั้งดอกเบี้ยและเงินรางวัลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งธนาคารมักจะโฆษณาด้วยข้อความที่ว่า สลากออมสินไม่กินทุน

สลากออมสินนี้เป็นสลากที่เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนอกเหนือจากสลากกินแบ่งรัฐบาล และสลากที่ออกโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ซึ่งยังไม่มีธนาคารเอกชนรายใดได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในลักษณะนี้ได้

ภารกิจที่ ๑ : การเป็นธนาคารเพื่อการออม
ธนาคารตระหนักดีถึงภารกิจด้านการส่งเสริมและระดมเงินออม ดังนั้นธนาคารจึงมีบริการด้านการให้บริการรับฝากเงินทั่วไปซึ่ง ได้แก่ เงินฝากเผื่อเรียก เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ เงินฝากประจำ ๓ เดือน เงินฝากประจำ ๖ เดือน เงินฝากประจำ ๑๒ เดือน เงินฝากสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ซึ่งเป็นเงินฝากที่ต่อเนื่องตามระยะเวลา และวงเงินที่กำหนดมีผลคุ้มครองผู้ฝาก

และเงินฝากสลากออมสินพิเศษ นอกจากนี้ได้สนับสนุนการออมด้วยวิธีการอื่นๆ เช่น การจัดงานวันออมแห่งชาติ การให้บริการรับฝากนอกสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่มีเวลาและ ผู้ที่อยู่ห่างไกล มีการจูงใจการออมสำหรับเยาวชนด้วยการแจกภาพชุดที่มีสาระน่ารู้ทุกครั้งที่นำ เงินมาฝาก และจะมีการหมุนรางวัลตามหมายเลขภาพเหล่านั้นเพื่อมอบทุนการศึกษาให้กับผู้

ที่ฝากเงินได้ตามเงื่อนไข จัดตั้งสโมสรเยาวชนธนาคารออมสินและโครงการธนาคารโรงเรียนเพื่อเป็นการปลูก ฝังให้เยาวชนได้รู้จักและรักการออม ได้เรียนรู้ด้านการเงินการธนาคารตั้งแต่เยาว์วัย ตลอดจนการให้บริการด้านการเงินตามหลักศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อห้ามเกี่ยวกับ ดอกเบี้ยโดยธนาคารบริหารจัดการนำเงินฝากไปลงทุน เพื่อให้เกิดผลกำไรในด้านอื่นๆ แทน เป็นต้น

ภารกิจที่ ๒ : การเป็นธนาคารเพื่อสังคมและชุมชน
ธนาคารออมสินมีความมุ่งมั่นที่จะเป็น “ธนาคารเพื่อปวงชน เพื่อชุมชนและเพื่อสังคม” โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักโดยเฉพาะชุมชนต่างๆ ที่เป้นรากฐานของสังคม เพราะหากชุมชนเข้มแข็งมั่นคง สังคมย่อมเจริญอย่างยั่งยืน ดังนั้นธนาคารจึงได้พัฒนาโครงการต่างๆ ที่จะทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองและปรับตัวตามสถาการณ์ได้อย่างเหมาะสม

ดูแลสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์รักษาทรัพยากรของท้องถิ่น โดยธนาคารได้อาศัยสินเชื่อและกองทุนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ เช่น การให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนรู้จักการออม ทรัพย์เพื่อให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สินเชื่อเพื่อสถานศึกษาและสถาบันการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อส่งเสริมบริการการ ศึกษาในภูมิภาคและเพื่อช่วยเพิ่มโอกาส

ของประชาชนในการพัฒนาความรู้ความ สามารถของตนเพื่อเลี้ยงตนเองได้ สำหรับสินเชื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตครูนั้น เป็นการสนับสนุนให้ครูรู้จักการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ส่วนกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม กองทุนเพื่อการพัฒนาเมืองในภูมิภาค และโครงการธนาคารชุมชนเป็นการสนับสนุนให้คนในท้องถิ่นเป็นผู้มีส่วนร่วมกับ การพัฒนาอย่างแท้จริงตลอดจนโครงการฟื้นฟูอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมต่างๆ ของชุมชนต่างมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนของชุมชนและสังคม

ภารกิจที่ ๓ : การเป็นธนาคารเพื่อภาครัฐ
กิจการของภาครัฐมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ธนาคารจึงได้ให้ความสำคัญต่อการลงทุนของภาครัฐและหน่วยงานของรัฐเสมอมา โดยได้สนับสนุนในรูปของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วสัญญาใช้เงินของ กระทรวงการคลัง พันธบัตรและหุ้นของรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้แล้วธนาคารยังได้ให้สินเชื่อกับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการด้าน สาธารณูปโภคและโครงการพื้นฐานทาง

เศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของประชาชน และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การเคหะแห่งชาติที่ดูแลด้านที่อยู่อาศัยของประชาชน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตลอดจนหน่วยงานด้านไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทาง การติดต่อสื่อสารและคมนาคมของประเทศ

ภารกิจที่ ๔ : การเป็นธนาคารเพื่อบุคคลทั่วไป

ธนาคารออมสินตระหนักดีว่า ความแข็งแกร่งของสังคมนั้นเกิดจากความมั่นคงของสังคมย่อยซึ่งก็คือบุคคล แต่ละคนที่รวมตัวกันเป็นสังคมนั่นเอง ดังนั้นธนาคารจึงมุ่งมั่นให้มีบริการหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับความ ต้องการของสังคมและเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป ทั้งข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ

สินเชื่อไทรทอง เป็นสินเชื่อเอนกประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพและการอุปโภคบริโภค สินเชื่อสวัสดิการเป็นสินเชื่อที่สนับสนุนสวัสดิภาพในการครองชีพ และสินเชื่อเคหะเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น นอกจากนี้ ธนาคารยังได้พัฒนาการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับบุคคลทั่วไป ตัวอย่างเช่น บริการตั๋วแลกเงินของขวัญ เครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) และบริการรับชำระค่าสาธารณูปโภคผ่านสาขาของธนาคารรวมไปถึงการชำระเบี้ย ประกันรถยนต์ การตรวจผลการออกรางวัลออมสินพิเศษ และบริการข่าวสารข้อมูลของธนาคารทางโทรศัพท์ เป็นต้น

ภารกิจที่ ๕ : การเป็นธนาคารเพื่อธุรกิจ
ธนาคารตระหนักดีว่าระบบเศรษฐกิจย่อมประกอบไป ด้วยธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งต่างมีความสำคัญต่อวงจรเศรษฐกิจทั้งนั้น ดังนั้นธนาคารจึงได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจทุกประเภทอย่างเท่า เทียมกัน โดยการให้สินเชื่อและการร่วมลงทุนกับธุรกิจประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่น การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางซึ่งเป็นการสนับสนุนธุรกิจ

ที่ ใช้เทคโนโลยีท้องถิ่นและวัตถุดิบภายในประเทศ การให้สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานทาง เศรษฐกิจของประเทศ เช่น บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด และบริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งล้วนเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีการร่วมลงทุนระยะยาวกับภาคเอกชนในรูปของหุ้นกู้ หุ้นสามัญ ใบแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ และหน่วยลงทุน รวมทั้งให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมระยะสั้น