คุณกำลังเจอปัญหาผ่อนรถไม่ไหวอยู่หรือเปล่า?? วันนี้เรามีเรื่องราวดีๆ
มานำเสนอเพื่อนๆ ทุกคน เป็นเรื่องเกี่ยวกับกรณีของการโดนยึดรถ
เมื่อคุณผ่อนรถไม่ไหว จะเป็นอย่างไรนั้นมาดูไปพร้อมกันเลย
ในกรณีที่ซื้อรถใหม่ป้ายแดง แล้วพอผ่านไป 2-3 ปี ไม่สามารถผ่อนรถได้อีกต่อไป เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเข้ามามากจนเกินความสามารถในการผ่อนชำระ จนทำให้ค้างส่งนาน อาจถึงขั้นเตรียมโดนยึดรถมาขายทอดตลาดจากบริษัทไฟแนนซ์
หากใครมีคำถามว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง วันนี้เรารวบรวมคำตอบที่ได้จาก นายนิติธร แก้วโต หรือ ทนายเจมส์ ทนายความชื่อดัง ที่อาสามาให้คำแนะนำแนวทางแก้ปัญหาไว้ 5 วิธีหลักๆ ดังนี้
กรณีการคืนรถโดยที่ไม่ผิดสัญญา หรือไม่ได้ค้างผ่อนชำระ ลักษณะนี้ ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายหรือค่าขาดประโยชน์ใดๆ เนื่องจากไม่ได้ค้างชำระ ไฟแนนซ์จะคิดเพียงค่าส่วนต่างเวลาที่ขายรถและขาดทุนเท่านั้น
นอกจากนี้ ทนายเจมส์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับในกรณีที่เจ้าของรถผ่อนไม่ไหว ไม่มีเงินโปะ และไม่ยอมเอารถไปคืนนั้น มี 2 กรณี คือ
กรณีแรก ยังมีรถอยู่กับตัว อาจถูกไฟแนนซ์ฟ้องแพ่ง ในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบังคับยึดรถ หรือตามยึดทรัพย์อย่างอื่น แต่ฟ้องคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ไม่ได้
กรณีที่สอง ไม่มีรถอยู่กับตัวแล้ว โดยเอาไปขายต่อเต็นท์รถ หรืออื่นๆ ในระหว่างสัญญา เจ้าของรถอาจจะถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหา ยักยอกทรัพย์ได้ เพราะกรรมสิทธิ์รถเป็นของไฟแนนซ์ ดังนั้น เจ้าของรถไม่มีสิทธิ์ที่จะเอาไปขาย
แหล่งที่มา: khonkan.com
ในกรณีที่ซื้อรถใหม่ป้ายแดง แล้วพอผ่านไป 2-3 ปี ไม่สามารถผ่อนรถได้อีกต่อไป เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเข้ามามากจนเกินความสามารถในการผ่อนชำระ จนทำให้ค้างส่งนาน อาจถึงขั้นเตรียมโดนยึดรถมาขายทอดตลาดจากบริษัทไฟแนนซ์
หากใครมีคำถามว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง วันนี้เรารวบรวมคำตอบที่ได้จาก นายนิติธร แก้วโต หรือ ทนายเจมส์ ทนายความชื่อดัง ที่อาสามาให้คำแนะนำแนวทางแก้ปัญหาไว้ 5 วิธีหลักๆ ดังนี้
1. การคืนรถ
กรณีการคืนรถโดยผิดสัญญา หรือค้างผ่อนชำระหลายงวด โดยจะต้องชำระค่าเสียหาย ค่าขาดประโยชน์ และอื่นๆ ยิ่งค้างชำระหลายงวดจะยิ่งเสียค่าเสียหายจำนวนมากกรณีการคืนรถโดยที่ไม่ผิดสัญญา หรือไม่ได้ค้างผ่อนชำระ ลักษณะนี้ ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายหรือค่าขาดประโยชน์ใดๆ เนื่องจากไม่ได้ค้างชำระ ไฟแนนซ์จะคิดเพียงค่าส่วนต่างเวลาที่ขายรถและขาดทุนเท่านั้น
2. การขายให้บุคคลอื่นโดยไม่ได้เปลี่ยนสัญญา
ขายให้บุคคลอื่นโดยที่ยังไม่ได้เปลี่ยนสัญญา โดยผู้เช่าซื้อยังเป็นคนเดิมอยู่ ซึ่งกรณีนี้ค่อนข้างเสี่ยงอย่างมากๆ หากคนที่ซื้อรถไปแล้วเอาไปขายให้คนอื่นต่อ หรือรถหาย ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเต็มๆ อย่างไรก็ตาม เป็นกรณีที่ไม่แนะนำ อย่างบางเคสเอารถไปจำนำในบ่อน หรือเอาไปขายให้เต็นท์ เจ้าของหรือผู้เช่าซื้อรถจะต้องปวดหัวไปตามหารถมาคืนไฟแนนซ์3. การขายให้บุคคลอื่นโดยเปลี่ยนสัญญา
เป็นการขายเปลี่ยนสัญญา และนำเงินที่ได้ไปปิดจ่ายไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ปลอดภัยทั้งคนค้ำประกัน ปลอดภัยทั้งผู้เช่าซื้อด้วย แต่ต้องหาคนซื้อรถ หาคนเปลี่ยนสัญญาให้ได้ โดยอาจจะต้องยอมขายขาดทุน เพื่อแลกกับเวลาและค่าใช้จ่ายที่จะตามมาในอนาคต4. รีไฟแนนซ์ใหม่หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่
โดยขยายระยะเวลาการผ่อนออกไป และขอลดยอดการผ่อนในแต่ละเดือนลง แต่ผลที่อาจจะตามมาคือเสียดอกเบี้ย หรือผลประโยชน์ให้กับที่ไฟแนนซ์มากขึ้น5. เจรจาขอผ่อน เฉพาะดอกเบี้ยไปก่อน
โดยยังคงต้นเงินไว้ เผื่อในอนาคต ผู้เช่าซื้ออาจจะมีเงินก้อนไปปิด ก็จะทำให้เจรจาได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ ทนายเจมส์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับในกรณีที่เจ้าของรถผ่อนไม่ไหว ไม่มีเงินโปะ และไม่ยอมเอารถไปคืนนั้น มี 2 กรณี คือ
กรณีแรก ยังมีรถอยู่กับตัว อาจถูกไฟแนนซ์ฟ้องแพ่ง ในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยบังคับยึดรถ หรือตามยึดทรัพย์อย่างอื่น แต่ฟ้องคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ไม่ได้
กรณีที่สอง ไม่มีรถอยู่กับตัวแล้ว โดยเอาไปขายต่อเต็นท์รถ หรืออื่นๆ ในระหว่างสัญญา เจ้าของรถอาจจะถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหา ยักยอกทรัพย์ได้ เพราะกรรมสิทธิ์รถเป็นของไฟแนนซ์ ดังนั้น เจ้าของรถไม่มีสิทธิ์ที่จะเอาไปขาย
แหล่งที่มา: khonkan.com