เป็นที่น่ายินดีและเห็นควรสนับสนุน เรื่องที่รัฐบาล คสช. กำลังจะปลดล็อก
เพื่อเปิดทางให้กับเศรษฐกิจชาวบ้าน
เกี่ยวกับการปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์
จะทำให้ชาวบ้านและชุมชนสามารถสร้างสวนป่า ปลูกป่าไม้มีค่า ที่เป็นพืชเศรษฐกิจราคาแพง ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ชิงชัน ยางนา ฯลฯ
การปลูกสร้างสวนป่าของชาวบ้านเช่นนี้ จะเป็นเงินออมในระยะยาว เป็นสินทรัพย์ที่ชาวบ้านสามารถตัดขายเมื่อต้องการใช้เงิน และมีมูลค่าเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆตามอายุของต้นไม้
1.ก่อนหน้านี้ ปราชญ์ชาวบ้านหลายท่านได้เคยนำเสนอแนวทางการออมเงินผ่านต้นไม้นานแล้ว
ยกตัวอย่าง นายเลี่ยม บุตรจันทา ปราชญ์เกษตรพอเพียง ฉะเชิงเทรา เคยเล่าถึงแนวคิดการปลูกพืชบำนาญ โดยปลูกและดูแลไว้ก็จะสามารถตัดต้นไม้เหล่านี้ขายเมื่อมีอายุมากขึ้น มูลค่าก็จะเพิ่มไปตามอายุที่ผ่านไป เป็นการปลูกต้นไม้ที่เอาไว้กินตอนแก่ เริ่มปลูกไม้ที่เป็นบำนาญประมาณ 50 ต้น ตั้งแต่ปี 2542 เป็นไม้เศรษฐกิจ เช่น มะค่า ตะเคียนทอง ยางนา ฯลฯ พื้นที่ 5 ไร่ สามารถขายได้ต้นละ 1 หมื่นบาท ส่วนพะยูงขายได้ต้นละ 1 แสนบาท ตอนแก่ก็พอดีไม้โต ขายได้ใช้เป็นเงินบำนาญ เดือนละ 2-3 ต้น
2.เรื่องนี้ เสมือนเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวบ้านสร้างการออมไปในตัว เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเพื่อรับมือสังคมสูงวัย ลองคิดดู… นี่คือการออมไว้ในต้นไม้ สามารถให้ผลตอบแทนนับร้อยเท่าในระยะเวลา 20-40 ปี
หากวันนี้ ลงทุนลงแรงปลูกต้นไม้เศรษฐกิจ ราคาสูง อาทิ สัก ยางนา พะยูง ฯลฯ เอาไว้ตัดขายในระยะ 20-40 ปีข้างหน้า จากต้นกล้าต้นละไม่กี่สิบบาท เมื่อโตขึ้น อายุ 20-40 ปี จะมีราคาค่างวดแพงขึ้นมาก
ต้นพะยูง อายุ 6 ปี ความสูง 7-8 เมตร มูลค่าโตไว้กว่าดอกเบี้ย ถ้าปลูกตอนนี้ ถึงวัยเกษียณ ในราวๆ 30 ปีข้างหน้า ก็จะมีค่าต้นละเป็นแสนบาท ถ้าปลูกไว้ 10 ต้น ก็ได้เงินล้านเป็นบำนาญชีวิต ถ้าปลูกไว้หลายสิบต้น หลายร้อยต้น ก็สามารถวางแผน ทยอยตัดขายได้ทุกๆเดือน มีรายได้ทุกๆเดือน เดือนละหลายแสนบาท
3.ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 3/2561 (นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) มีมติเห็นชอบในหลักการการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ เนื่องจากพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ในมาตรา 7 ได้กำหนดให้ไม้สัก และไม้ยาง รวมถึงไม้ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 อีก 16 รายชื่อ ไม่ว่าขึ้นอยู่ในที่ใดในราชอาณาจักรเป็นไม้หวงห้าม ดังนั้น การทำไม้หรือนำไปใช้ประโยชน์ จึงต้องมีการอนุญาตตามกฎหมายป่าไม้ เกิดผลกระทบตามมาแก่ประชาชนที่มีที่ดินกรรมสิทธิ์ถูกต้อง แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากไม้เศรษฐกิจบางชนิดได้
กขร. เห็นว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือที่ดินที่มีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย และช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจให้กับประเทศ จึงมีมติตามที่กรมป่าไม้เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ โดยให้พิจารณาให้มีระบบกำกับ ควบคุม ตรวจสอบย้อนกลับ การรับรองไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนอย่างเต็มประสิทธิภาพ
หากทำสำเร็จ จะถือเป็นการปลดล็อกกฎหมายที่ใช้มานานกว่า 70 ปี เปิดทางให้ชาวบ้านและชุมชนสามารถปลูกป่าไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง โดยเฉพาะ ไม้พะยูง ชิงชัน ยางนา ไม้สัก
หลังจากนี้ ต้องพิจารณาว่า ไม้ชนิดไหนบ้างที่จะอนุญาตให้ปลูกและตัดได้ รวมทั้งออกแบบระบบติดตามควบคุมเพื่อป้องกัน มิให้เกิดการรั่วไหล หรือสร้างผลกระทบในทางไม่พึงประสงค์ต่อไปด้วย หากมีความชัดเจนแน่นอนในเรื่องนี้ เชื่อแน่ว่า จะเกิดแรงจูงใจในทางบวก และสร้างความมั่นคงในชีวิตของชาวบ้านได้อย่างมากมาย โดยที่รัฐบาลแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
ยิ่งถ้าต่อยอดต่อไป ด้วยการรับรองไม้มีค่าเป็นเสมือนทรัพย์สินอย่างหนึ่ง เหมือนเป็นรถยนต์ อาคาร สินค้าของผู้ครองครองกรรมสิทธิ์ สามารถจะนำไปจำนำ จำนอง หรือประกอบธุรกรรมทำธุรกิจต่อไปได้ ก็จะยิ่งเป็นการปลดล็อกเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญ ชาวบ้านในต่างจังหวัดจะมีความมั่นคงในชีวิตได้ก็งานนี้
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2561 เวลา 07.30 น. วิทยุแห่งประเทศไทย FM 92.5 สัมภาษณ์ นายอรรถพล เชิญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ สรุปความได้ว่า การปลูกไม้ยืนต้นในที่กรรมสิทธิ เจ้าของที่ดินที่ชอบด้วยกฏหมายมีสิทธิ ปลูก ตัด เลื่อยแปรรูป จะไม่ต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ ตาม ม.7 ของพรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
คุณอรรถพล กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลเห็นชอบในหลักการเรื่องนี้แล้ว ตามข้อเสนอของกระทรวง ทส. การแก้ไขปรับปรุงมาตรา 7 จะเสร็จในเร็วๆ นี้
เมื่อกระทรวง ทส. ปลดล๊อก มาตรา 7 และ กระทรวงพาณิชย์ออกกฏกระทรวง ให้ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้ การใช้ที่ดินของชาติจะเกิดประโยชน์สูงสุดมากยิ่งขึ้น ประชาชนก็จะมีทรัพย์ในอนาคตเพิ่มขึ้น ป่าไม้ของแผ่นดินไทยก็จะเพิ่มมากขึ้น
เรื่องนี้ เป็นเรื่องดีที่มีประโยชน์ ต่อประชาชนทั้งประเทศ ที่ สปช. สปท. กรรมการปฏิรูปประเทศ ร่วมมือร่วมใจช่วยกันผลักดันกันอย่างจริงจัง เราชาวชาวไทยทั้งประเทศต้องขอขอบคุณ โดยเฉพาะท่าน รมว. กระทรวง ทส. ท่าน รมว.กระทรวงพาณิชย์ และท่านรัฐมนตรี ดร.กอบศักดิ์และทุกส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องที่ช่วยกันสนับสนุนในเรื่องนี้ อย่างจริงจัง นะครับ
จะทำให้ชาวบ้านและชุมชนสามารถสร้างสวนป่า ปลูกป่าไม้มีค่า ที่เป็นพืชเศรษฐกิจราคาแพง ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ชิงชัน ยางนา ฯลฯ
การปลูกสร้างสวนป่าของชาวบ้านเช่นนี้ จะเป็นเงินออมในระยะยาว เป็นสินทรัพย์ที่ชาวบ้านสามารถตัดขายเมื่อต้องการใช้เงิน และมีมูลค่าเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆตามอายุของต้นไม้
1.ก่อนหน้านี้ ปราชญ์ชาวบ้านหลายท่านได้เคยนำเสนอแนวทางการออมเงินผ่านต้นไม้นานแล้ว
ยกตัวอย่าง นายเลี่ยม บุตรจันทา ปราชญ์เกษตรพอเพียง ฉะเชิงเทรา เคยเล่าถึงแนวคิดการปลูกพืชบำนาญ โดยปลูกและดูแลไว้ก็จะสามารถตัดต้นไม้เหล่านี้ขายเมื่อมีอายุมากขึ้น มูลค่าก็จะเพิ่มไปตามอายุที่ผ่านไป เป็นการปลูกต้นไม้ที่เอาไว้กินตอนแก่ เริ่มปลูกไม้ที่เป็นบำนาญประมาณ 50 ต้น ตั้งแต่ปี 2542 เป็นไม้เศรษฐกิจ เช่น มะค่า ตะเคียนทอง ยางนา ฯลฯ พื้นที่ 5 ไร่ สามารถขายได้ต้นละ 1 หมื่นบาท ส่วนพะยูงขายได้ต้นละ 1 แสนบาท ตอนแก่ก็พอดีไม้โต ขายได้ใช้เป็นเงินบำนาญ เดือนละ 2-3 ต้น
2.เรื่องนี้ เสมือนเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวบ้านสร้างการออมไปในตัว เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเพื่อรับมือสังคมสูงวัย ลองคิดดู… นี่คือการออมไว้ในต้นไม้ สามารถให้ผลตอบแทนนับร้อยเท่าในระยะเวลา 20-40 ปี
หากวันนี้ ลงทุนลงแรงปลูกต้นไม้เศรษฐกิจ ราคาสูง อาทิ สัก ยางนา พะยูง ฯลฯ เอาไว้ตัดขายในระยะ 20-40 ปีข้างหน้า จากต้นกล้าต้นละไม่กี่สิบบาท เมื่อโตขึ้น อายุ 20-40 ปี จะมีราคาค่างวดแพงขึ้นมาก
- ผลตอบแทนสูงกว่าฝากเงินไว้ที่ธนาคาร
- ผลตอบแทนสูงกว่าการทำธุรกิจหลายอย่าง
- แถมมีความมั่นคงสูง
- ที่สำคัญ สร้างผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกต่างหาก
ต้นพะยูง อายุ 6 ปี ความสูง 7-8 เมตร มูลค่าโตไว้กว่าดอกเบี้ย ถ้าปลูกตอนนี้ ถึงวัยเกษียณ ในราวๆ 30 ปีข้างหน้า ก็จะมีค่าต้นละเป็นแสนบาท ถ้าปลูกไว้ 10 ต้น ก็ได้เงินล้านเป็นบำนาญชีวิต ถ้าปลูกไว้หลายสิบต้น หลายร้อยต้น ก็สามารถวางแผน ทยอยตัดขายได้ทุกๆเดือน มีรายได้ทุกๆเดือน เดือนละหลายแสนบาท
3.ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 3/2561 (นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) มีมติเห็นชอบในหลักการการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ เนื่องจากพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ในมาตรา 7 ได้กำหนดให้ไม้สัก และไม้ยาง รวมถึงไม้ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 อีก 16 รายชื่อ ไม่ว่าขึ้นอยู่ในที่ใดในราชอาณาจักรเป็นไม้หวงห้าม ดังนั้น การทำไม้หรือนำไปใช้ประโยชน์ จึงต้องมีการอนุญาตตามกฎหมายป่าไม้ เกิดผลกระทบตามมาแก่ประชาชนที่มีที่ดินกรรมสิทธิ์ถูกต้อง แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากไม้เศรษฐกิจบางชนิดได้
กขร. เห็นว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือที่ดินที่มีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย และช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจให้กับประเทศ จึงมีมติตามที่กรมป่าไม้เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ โดยให้พิจารณาให้มีระบบกำกับ ควบคุม ตรวจสอบย้อนกลับ การรับรองไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนอย่างเต็มประสิทธิภาพ
หากทำสำเร็จ จะถือเป็นการปลดล็อกกฎหมายที่ใช้มานานกว่า 70 ปี เปิดทางให้ชาวบ้านและชุมชนสามารถปลูกป่าไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง โดยเฉพาะ ไม้พะยูง ชิงชัน ยางนา ไม้สัก
หลังจากนี้ ต้องพิจารณาว่า ไม้ชนิดไหนบ้างที่จะอนุญาตให้ปลูกและตัดได้ รวมทั้งออกแบบระบบติดตามควบคุมเพื่อป้องกัน มิให้เกิดการรั่วไหล หรือสร้างผลกระทบในทางไม่พึงประสงค์ต่อไปด้วย หากมีความชัดเจนแน่นอนในเรื่องนี้ เชื่อแน่ว่า จะเกิดแรงจูงใจในทางบวก และสร้างความมั่นคงในชีวิตของชาวบ้านได้อย่างมากมาย โดยที่รัฐบาลแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
ยิ่งถ้าต่อยอดต่อไป ด้วยการรับรองไม้มีค่าเป็นเสมือนทรัพย์สินอย่างหนึ่ง เหมือนเป็นรถยนต์ อาคาร สินค้าของผู้ครองครองกรรมสิทธิ์ สามารถจะนำไปจำนำ จำนอง หรือประกอบธุรกรรมทำธุรกิจต่อไปได้ ก็จะยิ่งเป็นการปลดล็อกเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญ ชาวบ้านในต่างจังหวัดจะมีความมั่นคงในชีวิตได้ก็งานนี้
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2561 เวลา 07.30 น. วิทยุแห่งประเทศไทย FM 92.5 สัมภาษณ์ นายอรรถพล เชิญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ สรุปความได้ว่า การปลูกไม้ยืนต้นในที่กรรมสิทธิ เจ้าของที่ดินที่ชอบด้วยกฏหมายมีสิทธิ ปลูก ตัด เลื่อยแปรรูป จะไม่ต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ ตาม ม.7 ของพรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
คุณอรรถพล กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลเห็นชอบในหลักการเรื่องนี้แล้ว ตามข้อเสนอของกระทรวง ทส. การแก้ไขปรับปรุงมาตรา 7 จะเสร็จในเร็วๆ นี้
เมื่อกระทรวง ทส. ปลดล๊อก มาตรา 7 และ กระทรวงพาณิชย์ออกกฏกระทรวง ให้ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้ การใช้ที่ดินของชาติจะเกิดประโยชน์สูงสุดมากยิ่งขึ้น ประชาชนก็จะมีทรัพย์ในอนาคตเพิ่มขึ้น ป่าไม้ของแผ่นดินไทยก็จะเพิ่มมากขึ้น
เรื่องนี้ เป็นเรื่องดีที่มีประโยชน์ ต่อประชาชนทั้งประเทศ ที่ สปช. สปท. กรรมการปฏิรูปประเทศ ร่วมมือร่วมใจช่วยกันผลักดันกันอย่างจริงจัง เราชาวชาวไทยทั้งประเทศต้องขอขอบคุณ โดยเฉพาะท่าน รมว. กระทรวง ทส. ท่าน รมว.กระทรวงพาณิชย์ และท่านรัฐมนตรี ดร.กอบศักดิ์และทุกส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องที่ช่วยกันสนับสนุนในเรื่องนี้ อย่างจริงจัง นะครับ